การพัฒนาการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

 ด้านคุณธรรม  จริยธรรม

ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม  จริยธรรม
1)    มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2)    มีจิตสาธารณะ รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม
3)    มีภาวะผู้นำและเป็นผู้ตามที่ดี เคารพในระเบียบ และกฎเกณฑ์ของสังคม  
4)    สามารถแยกแยะความถูกต้องและไม่ถูกต้องทางคุณธรรม จริยธรรมได้
5)    ตระหนักในคุณค่า รู้และเข้าใจหลักคุณธรรม จริยธรรมที่สำคัญต่อการดำรงตน และการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม  จริยธรรม   มีการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกในทุกรายวิชา โดยใช้วิธีสอนที่หลากหลาย เช่น
1)    การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์
2)    มอบหมายงานให้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา
3)    การกำกับดูแล
4)    การประชุมปรึกษาหารือระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน
5)    มอบหมายงานกลุ่ม
6)    การใช้กรณีศึกษา
7)    จัดการอบรม/ประชุม/สัมมนา
8)    จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม  จริยธรรม
1)    ประเมินตามสภาพจริง เช่น การสังเกตพฤติกรรม  สัมภาษณ์ โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม     
2)    ใช้แบบทดสอบ  แบบประเมินความตระหนัก/จิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม  
3)    ผู้เรียนประเมินตนเอง  และประเมินโดยกลุ่มเพื่อน


ด้านความรู้

 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้                       
1)    มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของหลักการที่เป็นพื้นฐานความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
2)    สามารถบูรณาการความรู้ในวิชาศึกษาทั่วไปกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3)    มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ หรือจากงานวิจัย

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความ
1)    มอบหมายงาน/กำหนดชิ้นงานให้ศึกษาเพื่อวิเคราะห์แก้ไขปัญหา
2)    มอบหมายให้นักศึกษาอ่านบทเรียนล่วงหน้า และสรุปเนื้อหานำมาถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง
3)    จัดลำดับเนื้อหาวิชาตามความยากง่าย และความต่อเนื่องเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ
4)    ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การสาธิต การปฏิบัติ โครงงาน อภิปรายแสดงความคิดเห็น สอนแบบการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์  การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน  การใช้กรณีศึกษา เทคนิคแผนผังความคิด  การทดลอง การนิรนัย  การอุปนัย การใช้ปัญหาเป็นฐาน เกมส์และสถานการณ์จำลอง  เป็นต้น
5)    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ระบบ e-Learning และศึกษาดูงานนอกสถานที่

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
1)    ประเมินความรู้ความเข้าใจ ด้วยแบบทดสอบระหว่างเรียน หลังเรียน  สอบกลางภาค  และปลายภาค
2)    ประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม
3)    ประเมินผลการนำเสนอผลงานปากเปล่า/รายงาน/ชิ้นงาน


ด้านทักษะทางปัญญา

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1)    สามารถสืบค้น วิเคราะห์ ประมวล และประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูล/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  เพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
2)    รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบ
3)    รู้จักตนเอง มีความตระหนักในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง

 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1)    วิเคราะห์ปัญหา เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน และนำเสนอผลการวิเคราะห์
2)    ใช้เทคนิคการสอน เช่น  การปฏิบัติโครงงาน อภิปรายแสดงความคิดเห็น สอนแบบการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์  การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน  การใช้กรณีศึกษา  แผนผังความคิด  การทดลอง การนิรนัย  การอุปนัย การใช้ปัญหาเป็นฐาน เกมส์และสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
3)    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ระบบ e-Learning
4)    ศึกษาดูงานนอกสถานที่

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1)    ประเมินความรู้ความเข้าใจ ด้วยแบบทดสอบระหว่างเรียน หลังเรียน  สอบกลางภาค  และปลายภาค
2)    ประเมินพฤติกรรมการใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
3)    ประเมินผลการนำเสนอผลงานปากเปล่า/รายงาน/ชิ้นงาน
4)    ผู้เรียนประเมินตนเอง
5)    สอบภาคปฏิบัติ


ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
1)    มทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ได้อย่างเหมาะสม
2)    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  รู้จักปรับตัว สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการสร้างเสริมความสามัคคี และจัดการความขัดแย้งในกลุ่ม หรือองค์กรอย่างเหมาะสม
3)    มีความรับผิดชอบในการทำงาน  เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและสังคม

 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1)    จัดกิจกรรม/มอบหมายงานกลุ่ม
2)    วิเคราะห์กรณีศึกษา  และเหตุการณ์ปัจจุบัน
3)    การจัดอบรม ประชุม สัมมนา
4)    การอภิปราย
5)    การแสดงบทบาทสมมุติ

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1)    นักศึกษาประเมินตนเอง และประเมินเพื่อน
2)    ประเมินพฤติกรรมการแสดงออก ความรับผิดชอบ และทักษะการใช้กระบวนการกลุ่มในการปฏิบัติงาน
3)    ประเมินผลงานจาก การจัดทำรายงาน การนำเสนอผลงาน/การอภิปรายกลุ่ม 


 ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1)    สามารถประยุกต์ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสถิติเบื้องต้น มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2)    สามารถใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารได้
3)    มีทักษะในการใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจ และการแสวงหาความรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข   การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1)            ใช้วิธีการสอน  เช่น  การฝึกปฏิบัติ  อภิปรายแสดงความคิดเห็น สอนแบบการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์  การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน  การใช้กรณีศึกษา  แผนผังความคิด  การนิรนัย  การอุปนัย  เกมส์และสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
2)            ฝึกทักษะการพูด อ่าน เขียน เชิงสร้างสรรค์ 
3)            ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  และนำเสนอข้อมูลตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1)    ประเมินผลงานของนักศึกษา ที่นำเสนอผลงานจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)     ประเมินทักษะการอ่าน ฟัง พูด และเขียน